วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การเปลี่ยนภาพพื้นหลัง


ขั้นตอนหลักในการตัดต่อภาพ
           1.  เปิดไฟล์รูปภาพที่ต้องการ
           2.  
สร้าง Selection ให้กับภาพโดยใช้เครื่องมือ Lasso Tool
           3.  เลือกคำสั่ง Select > Modify > Feather 
           4.  กำหนดความฟุ้งกระจายของขอบเป็น 2 pixels
           5.  เปิดไฟล์พื้นหลังขึ้นมา 
           6.  
เลือกเครื่องมือ Move Tool
           7.  คลิกเมาส์ค้างรูปแล้วลากไปที่พื้นหลัง
           8.  
ปล่อยเมาส์ในตำแหน่งที่ต้องการ
           9.  
ถ้าภาพที่วางมีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไป เราสามารถปรับขนาดได้ โดยคลิกที่เมนู
คำสั่ง Edit > Free Transform
         10.  
ปรับขนาดภาพตามต้องการ
         11.  
กดปุ่ม Enter

วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความสงบที่แท้จริง


ภูเขา แม่น้ำ ต้นไม้ ท้องทุ่ง วาดโดยโปรแกรม Paint 

ส่วนประกอบของโปรแกรม Adobe Photoshop CS4




      หมายเลข 1 เมนูคำสั่ง(Menu Bar) เป็นชุดคำสั่งสำหรับทำงานทุกรูปแบบในการจัดการกับไฟล์ เช่น เปิด/ปิดหรือบันทึกไฟล์ ไปจนถึงคำสั่งในการตกแต่งภาพ เมนูส่วนนี้ถือว่าเป็นเมนูตายตัวเกือบทุกๆ โปรแกรมก็ว่าได้ เพราะว่าทุกๆ อย่างของการทำงานในโปรแกรม จะต้องมีเมนูนี้ เพื่อไว้เก็บคำสั่งการทำงานต่างๆ ให้กับโปรแกรม และเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายต่อผู้ใช้งานอีกด้วย ในโปรแกรม Adobe Photoshop CS4 นี้ได้มีเมนู เพิ่มขึ้นมาใหม่หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นเมนูเสริมขึ้นมาอีก เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น เมนู ขยายเข้า/ออก, ปรับหน้าต่างโปรแกรมให้เต็มจอหรือ Full Screen หรือ การจัดวางตำแหน่งของเอกสารหรือตำแหน่งงานที่เราจะทำนั้นเอง เป็นต้น ซึ่งจะมีส่วนประกอบของเมนู

       หมายเลข 2 กล่องเครื่องมือ (Toolbox) คือ กล่องที่โปรแกรมใช้เก็บเครื่องมือสำหรับตกแต่งภาพเอาไว้ โดยเครื่องมือในกล่องนี้จะถูกแยกออกเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะการทำงาน เช่น ดินสอ พู่กัน หรืองยางลบ เป็นต้น ซึ่งกล่องเครื่องมือนี้เป็นสิ่งที่จำเป็น ขาดไม่ได้ และถูกใช้งานบ่อยที่สุด โดยทั่วไปแล้ว กล่องเครื่องมือนี้จะมีส่วนคล้ายกับรุ่นก่อนหน้านี้พอสมควร และในกรณีที่เกิดการบดบังพื้นที่งาน ลูกศรคู่ด้านซ้ายมือของแถบสีดำนี้มีไว้เพื่อเปลี่ยนการแสดงปุ่มเครื่องมือ จากแถวคู่ให้เป็นแถวเรียงเดี่ยว เพื่อเพิ่มพื้นที่หน้าต่างให้กว้างขึ้น การเลือกใช้เครื่องมือชนิดต่างๆก็ทำด้วยการคลิกที่ปุ่มนั้นๆ ส่วนลูกศรสีดำเล็กๆตรงมุมขวาด้านล่างของปุ่มเครื่องมือจะมีเครื่องมือต่าง ชนิดซ่อนอยู่ การเรียกใช้ก็คลิกเมาส์ที่ลูกศรค้างไว้แล้วเลื่อนเม้าไปเลือกเครื่องมือที่ ต้องการแล้วปล่อยเมาส์ เครื่องมือบางชนิดต้องใช้ควบคู่ไปกับคีย์บอร์ดด้วยถึงจะใช้งานได้ เช่น Clone stamp tool ต้องใช้คู่กับ Alt เป็นต้น

        หมายเลข 3 พื้นที่การทำงานและกระดาษวาดภาพ (Canvas) ในตอนเริ่มต้นจะเป็นพื้นที่ว่างๆ ต้องใช้คำสั่งเปิดภาพขึ้นมาก่อน หลังจากเปิดภาพขึ้นมาแล้ว บริเวรนี้จะกลายเป็นพื้นที่สำหรับตกแต่งภาพภาพที่เลือกเปิดจะมาปรากฏ บนกระดานวาดภาพและสามารถย้ายตำแหน่งไปมาหรือขยายภาพให้ใหญ่ขึ้นภายในพื้นที่ทำงานได้

       หมายเลข 4 ชุดพาเลท (Palettes) คือ กลุ่มของหน้าต่างที่ช่วยควบคุมรายละเอียดปลีกย่อยในขั้นตอนการทำงาน เช่น พาเลท History ที่ช่วยบันทึกขั้นตอนการตกแต่งภาพเอาไว้สำหรับกลับมาแก้ไข หรือพาเลท Navigator สำหรับควบคุมการซูมภาพ ตรงส่วนนี้เราสามารถที่จะเพิ่ม/ลบ พาเลทได้ที่ เมนูบาร์ ในชื่อ Windows แล้วให้ติ้กเลือกตามความต้องการว่า จะให้แสดงพาเลทใดบ้าง เช่น พาเลทของฟอนต์หรือแบบอักษร พาเลทภาพสามมิติ พาเลทแอคชันและอื่นๆ เป็นต้น การเปิด Palette ใหม่ก็ด้วยการคลิกคำสั่ง Window ที่ Menu bar แล้วเลือกเปิด Pallet ที่ต้องการ Palette ใหม่จะไม่รวมกลุ่มกับของที่เปิดไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ถ้าอยากจัดเก็บให้เข้ากลุ่มก็ทำได้ด้วยการ คลิกที่ Tab ของหัวข้อ แล้วลากไปวางไว้ในกลุ่มที่มีอยู่ก่อนแล้วจึงค่อยปล่อยเมาส์ การปิด Palette ใด Palette หนึ่ง ก็ให้คลิกที่ Tab ของหัวข้อ แล้วลาก Palette นั้นออกมา แล้วคลิกที่ กากบาท x ที่อยู่มุมบนขวาเพื่อทำการปิด ลูกศรคู่สีเทาบนแถบสีดำบนสุดของ Palette มีไว้เพื่อย่อให้ Palette มีขนาดเล็กลง เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการทำงาน ส่วนลูกศรสีดำหันหัวลงด้านล่างและมีขีดสี่เส้นอยู่ด้านขวามีไว้เพื่อเปิด เลือกคำสั่งการใช้งานต่างๆ  ที่เป็นคำสั่งในส่วนของ Layer